ผลงาน ของ ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา

ผลงานของศาสตราจารย์ศักดิ์ศรีมีเป็นจำนวนมากทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองส่วนใหญ่จะใช้นามจริงในการแต่งหนังสือ นอกจากนั้นเคยใช้นามปากกาบ้างเป็นบางครั้ง

มีผลงานที่เป็นร้อยแก้วมีทั้งที่เป็นงานวิจัย ตำรา บทความ ภารตนิยาย เรื่องสั้น เรื่องแปล รวมแล้วกว่า 500 เรื่อง เช่น คำกร่อนในวรรณคดีไทย หนังสือเรียนภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายวิชาประวัติวรรณคดีไทย และ วิชาการพินิจวรรณคดีมรดกเฉพาะเรื่อง หนังสือเรื่องสำนวนไทยที่มาจากวรรณคดี เช่น วรรณคดีพระพุทธศาสนาพาทย์ไทย

ส่วนผลงานที่เป็นร้อยกรองกว่า 100 เรื่อง โดยเฉพาะบทอาศิรวาทในวโรกาสเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งศาสตราจารย์ศักดิ์ศรีแต่งอย่างสม่ำเสมอและเป็นเวลายาวนาน ทั้งได้ประดิษฐ์ฉันท์ขึ้นใหม่ถึง 4 แบบ คือ จันทรการตฉันท์ 16 และสูรยกานตฉันท์ 16 ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อร้อยกรองถวายชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมัยเมื่อทรงตั้งวิทยุ อ.ส. ขึ้นในระยะแรก สุรัสวดีเทวีฉันท์ 18 ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อร้อยกรองถวายชัยมงคลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2524 และรัตนราชินีฉันท์ 16 ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแต่งบทอาศิรวาทถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. 2527[2]

ผลงานวิชาการ

  1. เป็นประธานอบรมครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ตามนโยบายการให้บริการทางวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 6 ปี ติดต่อกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528–2533
  2. เผยแพร่ความรู้ทางภาษาไทยแก่สื่อมวลชน ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ ปาฐกถา พิมพ์บทความในวาระครบ 700 ปี ลายสือไท และในโอกาสอื่นๆ
  3. ปาฐกถาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีไทย บาลีและสันสกฤตในสถาบันต่างๆ อีกหลายแห่ง
  4. รวบรวมบทความวิชาการและวรรณคดี รวมตีพิมพ์แล้ว 3 เล่ม
  5. อธิบายคำในสารานุกรมไทย ราชบัณฑิตยสถานและสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสิ้นประมาณ 100 คำ
  6. ภาษาไทย 5 นาที ประมาณ 250 ตอน มอบให้สถานีวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

งานแปล

  1. แปลวรรณกรรมสันสกฤตเป็นพาทย์ไทย กว่า 100 เรื่องรวมเป็นชุดภารตะนิยายและยังมีเรื่องวิกรมจริต ตอน เวตาลปัญจวิงศติ
  2. แปลประวัติศาสตร์จีนฉบับสังเขป
  3. แปลวรรณกรรมบางเรื่องของรพินทรนาถ ฐากูร

ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านวิชาการด้านอักษรศาสตร์ ศาสตราจารย์ศักดิ์ศรีจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาวรรณกรรมร้อยกรอง สำนักศิลปกรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2529[3] ได้ปฏิบัติหน้าที่สำคัญต่างๆ ในราชบัณฑิตยสถาน[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา http://www.224books.com/product/5191/%E0%B9%80%E0%... http://portal.psclib.com/ksp/ebooks/0183.pdf http://m.tarad.com/product/4708161 http://www.arts.chula.ac.th/~east/palisanskrit/src... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0005429... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0012465... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2526/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/B/...